วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สรรพคุณทางยาและสารออกฤทธิ์ของเห็ดหลิงจือ

สารออกฤทธิ์และสรรพคุณทางยาของเห็ดหลิงจือ
                เป็นเวลากว่า 30 ปี ที่แพทย์ และนักวิทยาศาสตร์ในจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน สหรัฐอเมริกา และประเทศต่างๆ ได้ทำการศึกษาวิจัยถึงสารออกฤทธิ์ และสรรพคุณทางยาของเห็ดหลิงจือ โดยการตรวจสอบทดลองโครงสร้างทางเคมีในห้องปฎิบัติการด้วยกรรมวิธีทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวบรวมข้อมูลทางสถิติที่ได้รับจากการรักษาโรคในผู้ป่วย ปี ค.ศ.1958
                นักวิจัยชาวญี่ปุ่นเป็นชาติแรกที่ได้เผยแพร่รายงานการค้นพบองค์ประกอบทางเคมีของเห็ดหลิงจือ ปัจจุบันมีการวิจัยค้นคว้าเพิ่มเติม พบว่ามีกว่า 150 ชนิด จำแนกสารออกฤทธิ์ได้ดังต่อไปนี้
                1.สารเจอร์เมเมียม (Germanium Gecontents) เป็นธาตุแข็งในโสมและพบมากในเห็ดหลิงจือ เป็นตัวส่งเสริมการทำงานของร่างกาย สามารถรวมตัว และช่วยกำจัดสารพิษ และสิ่งแปลกปลอมต่างๆ มีการใช้ร่วมกับยาแผนปัจจุบันเพื่อกำจัดพิษ และยังพบว่าสามารถลดความเจ็บปวดในผู้ป่วยโรคมะเร็ง
                2.โพลีแซคคาไรด์ (Polysaccharide) เป็นน้ำตาลโมเลกุลใหญ่ ซึ่งเป็นสารประกอบเชิงซ้อน ในเห็ดหลิงจือมีโพลีแซคคาไรด์หลายชนิดมีสรรพคุณทางยา ออกฤทธ์ร่วมกันในการเพิ่มพลังการสังเคราะห์โปรตีนในเลือด ไขกระดูก และช่วยลดการอักเสบ ลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยกระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวชนิด บี-เซลล์ และที-เซลล์ ซึ่งจากการทดลองจะเห็นการเพิ่มขึ้นอย่างเด่นชัดของสารอิมมูโนโกลบิน สารอินเตอร์ลิวดิน เพิ่มประสิทธิภาพของระบบ “ภูมิคุ้มกันโรค” เมื่อทำการทดลองในสัตว์ ก็พบว่าความสามารถในการปรับปรุงระบบภูมิคุ้มกันนี้มีผลต่อเนื่องในการต่อต้านสารแพ้ การต่อต้านเชื้อไวรัส การต่อต้านมะเร็ง ลดภาวะแทรกซ้อนจากการใช้สารเคมีบำบัด และรังสีบำบัดในผู้ป่วยโรคมะเร็ง นอกจากนี้ โพลีแซคคาไรด์ บางตัวยังช่วยเพิ่มพลังในการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ สเตอร์รอย มีปริมาณเพียงเล็กน้อยแต่ก็มีประโยชน์ต่อร่างกายส่วนที่พบเฉพาะในเห็ดหลิงจือ “กาโนสเตอโรน” (Ganosterone) มีฤทธิ์ในการลดพิษที่มีต่อตับ
                3.สารไตรเทอร์พีนอยด์ ชนิดขม (Bitter Triterpenoid) เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่ไม่ใช่ไขมันแต่มีคุณสมบัติคล้ายไขมัน แต่ก่อนสันนิษฐานว่าส่วนที่มีรสขมนี้เป็นส่วนสำคัญของตัวยาที่ใช้รักษาโรค แต่จากการวิจัยพบว่าเห็ดหลิงจือจะต้องประกอบด้วยส่วนที่ไม่ขมอีกหลายส่วนที่มีสรรพคุณทางยา กลุ่มของสารเหล่านี้ โดยเฉพาะ”กรดการ์โนดอริค” เป็นตัวยับยั้งการหลั่งสารฮีสตามีน ตัวทำให้เกิดปฎิกิริยาภูมิแพ้ชนิดหนึ่ง ช่วยลดความดันโลหิต ป้องกันการอุดตันของไขมันในเส้นเลือด และยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งในตับ และการต้านทานสารพิษที่มีในตับได้อีกด้วย
                4.กลุ่มสารนิวคลีโอไทด์ (Nucleotides) มีการค้นพบสารอะดีโนชีน (Adenosine) สารอินทรีย์ที่เป็นตัวเก็บพลังงานจากการหายใจ จากการทดลองพบว่า มีผลในการบรรเทาความเจ็บปวด ช่วยยับยั้งการรวมกลุ่มของเกล็ดเลือด จึงมีสรรพคุณในการป้องกันการอุดตันจากลิ่มเลือดในเส้นเลือด ช่วยลดอัตราการเกิดอาการอัมพาต อัมพฤกษ์ลงได้ และยังค้นพบสาร “อาร์เอ็นเอ” ชนิดหนึ่งซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัส
                นอกจากสารออกฤทธิ์ที่กล่าวขั้นต้นแล้ว ยังมีการค้นพบองค์ประกอบอื่นๆ อีกหลายชนิด เช่น “อัลคาลอยด์” (Alkaloids) พบว่ามีสารออกฤทธิ์กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดในหัวใจ “กรดไขมันชนิดโอเลอิค”(Oleic Acid) สาร “ไซโคลอ๊อกต้าซัลเฟอร์” (Cycloocta Sulfur) ซึ่งมีฤทธิ์ต่อต้านการหลั่งของ “ฮีสตามีน” มีโปรตีนที่เป็นเอนไซม์จำพวก “ไลโซไซม์” (Lysozyme) “โปรตีเอส” (protease) มีคุณสมบัติเป็นยาปฎิชีวนะทำหน้าที่ย่อยสลายเชื้อแบคทีเรีย จะเห็นได้ว่าสารออกฤทธิ์และสรรพคุณทางยาของเห็ดหลิงจือมีมากมาย เหมือนยาครอบจักรวาล ทั้งด้านป้องกันและบำบัดรักษา
                จากความเป็นอมตะของเห็ดหลิงจือ มีประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า 2000 ปี จึงมีบรรดาแพทย์ และนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย และผู้ให้ความสนใจติดตามเรื่องราวอย่างใกล้ชิด ต่างก็ยอมรับในคุณค่าของเห็ดหลิงจือ จึงมีรายงานการค้นคว้าอย่างละเอียดในหลายประเทศในด้านเภสัชวิทยา การทดลอง และการศึกษาทางคลีนิคบำบัดรักษาผู้ป่วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น